เงื่อนไขการทดสอบสินค้าก่อนจัดส่ง (จุดนี้คือข้อแตกต่าง จากการซื้อร้านอะไหล่ทั่วไปที่ไม่มีการตรวจสอบสินค้าให้ลูกค้าก่อน ต้องบอกว่าจากการทดสอบคอยล์มาจำนวนมาก ของใหม่บางตัวก็มีปัญหา แต่ของที่ทางเราจำหน่ายจะไม่เกิดปัญหานี้แน่นอนเพราะทุกตัวถูกตรวจสอบอีกครั้งก่อนจัดส่ง 100% Test)
- ทดสอบกระแสไฟ เอาท์พุท >>>> ทุกตัวที่จำหน่ายต้องไฟออก
- ทดสอบความแรง (แรงดัน) ไฟ ต้องอยู่ในช่วง 16,000 Volt -26,000 Volt ค่าแรงดันขึ้นกับระยะห่างของระยะกระโดดของกระแสไฟ >>>> ทุกตัวที่จำหน่ายไฟต้องแรง (กรณีไฟอ่อนใส่กับตัวรถจะมีอาการสะดุด)
- ตรวจสอบการรั่วของกระแสไฟ >>>> ทุกตัวที่จำหน่ายไฟต้องไม่รั่ว
จำหน่าย คอยล์จุดระเบิด Toyota Vios Yaris 1.5 1NZ-FE ของใหม่ ยี่ห้อ Elegance Power ราคา 650 บาท/ตัว ไม่ประกัน หรือ 850 บาท/ตัว ประกัน 30 วัน
คอยล์จุดระเบิด หรือ บางท่านอาจาเรียกว่า คอยล์หัวเทียน ในรุ่น VIOS และ YARIS หรือรถรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจะเป็น คอยล์จุดระเบิดแบบไดเรคคอยล์ (Direct Coil) จะมีคอยล์ 1 ตัว ต่อ 1 กระบอกสูบ ในรหัสเครื่องยนต์ 1NZ เป็นเครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบจึงมีคอยล์ทั้งหมด 4 ตัว Direct คอยล์จะต่างจากคอยล์ในรุ่นก่อนๆ ที่เป็นคอยล์ชุดเดียวแล้วอาศัยจานจ่ายเป็นตัวหมุนให้สัมพันธ์กับเครื่องยนต์ เพื่อให้จุดระเบิด ข้อดีของไดเร็ก คอยล์ที่เห็นได้ชัดคือ หากมีคอยล์ตัวใดตัวหนึ่่งชำชุดรถก็ยังสามารถวิ่งได้ แต่กำลังของเครื่องยนต์จะลดลงจากเดิม ทำให้ผู้ขับขี่สามารถประคองรถเพื่อเข้าศูนย์บริการหรืออู่ภายนอกเพื่อเปลี่ยนคอยล์ตัวใหม่ได้ หากเป็นคอยล์ในรูปแบบเก่าถ้าคอยล์ชำรุดก็ต้องลากเข้าอู่อย่างเดียว อีกทั้ง ไดเรคคอยล์นี้จะไม่มีสายหัวเทียนเหมือนจานจ่ายทำให้ตัดปัญหาเรื่องสายหัวเทียนรั่วหรือขาดได้
โครงสร้างของ Direct Coil
ภายใน Direct Coil ประกอบด้วยชุดขดลวดที่เป็นหม้อแปลงแบบ Step Up ทำหน้าที่ยกระดับแรงดันไฟจาก แบตเตอรี่ 12V-15V ให้มีค่าอยู่ในช่วง 35,000-40,000 โวลท์ (ค่าแรงดันนี้เป็นค่ามาตรฐานของการจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซิน) นอกจากชุดขดลวดแล้วยังมีอุปกรณ์สำคัญอีกตัวหนึ่งก็ คือ อุปกรณ์ขับกระแส อาจเป็น Power Transistor หรือ Power Mosfet ก็ได้ แล้วแต่รุ่น ทำหน้าที่สวิทช์ แรงดันให้กับชุดขดลวด
รูปที่2 แสดงตำแหน่งขาของคอยล์จุดระเบิด
ไดเร็กคอยล์ โตโยต้าทุกรุ่นที่มีขั้วต่อแบบ 4 สาย ตำแหน่งขาจะเหมือนกันหมด ขา 1 GND หมายถึงตำแหน่งกราวนด์หรือก็คือขั้วลบของแบตเตอรี่ ขา 2 Ignition Triger เป็นสัญญาณที่ส่งออกมาจาก ECU เป็นสัญญาณ Pluse ที่ใช้ควบคุมการจุดระเบิด ขา 3 Ignition Feedback เป็นสัญญาณที่ส่งกลับมาจากคอยล์เพื่อตรวจสอบว่ามีการจุดระเบิดหรือไม่ที่ขานี้จะมีแรงดันออกและส่งกลับไปที่ ECU หากไม่มีสัญญาณออกมาแสดงว่าคอยล์ไม่มีการจุดระเบิด ขา 4 +V เป็นสายไฟเลี้ยงคอยล์ต่อมาจากแบตเตอรี่
อาการเบื้องต้นเมื่อคอยล์ชุด แบ่งเป็น 2 กรณี
1. ขดลวดขาดหรือชุดขับกระแสพัง อันนี้ชัดเจน เครื่องจะเดินไม่ครบสูบตลอดเวลา วิธีการตรวจสอบก็ถอดคอยล์ออกมาทีละตัว ถ้าถอดตัวไหนแล้วกำลังเครื่องไม่ตกลงจากเดิมตัวนั้นก็เสีย
2.เสียแบบคอยล์รั่ว หรือ คอยล์ช๊อตรอบแต่ไม่มาก แบบนี้เครื่องอาจมีอาการสะดุดในบางจังหวะ โดยเฉพาะตอนเดินเบา แต่ถ้าขับเร็วๆ จะไม่ค่อยเห็นผล แบบนี้ตรวจสอบยาก ต้องหาคอยล์ตัวใหม่มาลองเปลี่ยนอย่างเดียว
อาการเครื่องเดินสะดุดในบางจังหวะอาจไม่ใช่สาเหตุจากคอยล์จุดระเบิดก็ได้ อาจมาจากระบบเชื้อเพลิง เช่น หัวฉีดน้ำมัน หัวฉีดแก๊ส กรองแก๊ส กรองน้ำมัน หรือ ปั๊มติ๊ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น